ในช่วงที่ยังมีการระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่อยู่ คำถามยอดฮิตที่ผุดขึ้นในหัวของหลายคนเมื่อรู้สึกไม่สบาย ก็คือ “นี่ฉันติดโควิดแล้วหรือยังนะ?” นั่นเพราะว่าไข้หวัดและโควิด-19 มีอาการหลายอย่างคล้ายกัน จึงยากที่จะแยกแยะและระบุชัดว่าอะไรเป็นอะไร จนกว่าจะได้ตรวจยืนยัน
แต่จะดีกว่าไหม ถ้าระหว่างนี้เรามีข้อมูลความรู้เบื้องต้นเพื่อเตรียมรับมือกับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น อาการโควิด-19 กับไข้หวัดธรรมดาเหมือนและต่างกันอย่างไร มาดูวิธีเช็คอาการไปพร้อมๆ กันเลย
ความเหมือนและความต่างระหว่างอาการโควิด-19 กับไข้หวัด
ไข้หวัด (Common Cold) เป็นโรคที่เกิดได้ตลอดทั้งปี ส่วนมากระบาดในช่วงฤดูฝน ฤดูหนาว หรือช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง เกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งมีหลายสายพันธุ์ การป่วยเป็นไข้หวัดแต่ละครั้งมักเกิดจากเชื้อไวรัสหวัดเพียงชนิดเดียว และเมื่อหายแล้วร่างกายก็จะมีภูมิต้านทานต่อเชื้อชนิดนั้น และเมื่อป่วยเป็นไข้หวัดครั้งใหม่ก็มักจะเกิดจากเชื้อไวรัสหวัดชนิดใหม่ หมุนเวียนกันไปเรื่อยๆ
ไข้หวัดใหญ่ (Influenza) เป็นโรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันที่เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ (influenza virus) ซึ่งมีหลายสายพันธุ์ เช่น เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เอ (influenza A) และไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์บี (influenza B) ส่วนไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ซี (influenza C) มีความรุนแรงน้อยและเกิดการระบาดเฉพาะในวงจำกัด
ส่วนโควิด-19 เกิดจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งเป็นตระกูลเดียวกับไวรัสที่ก่อให้อาการป่วย ตั้งแต่ไข้หวัดธรรมดาไปจนถึงโรคที่มีความรุนแรงมาก เช่น โรคระบบทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (MERS-CoV) และโรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS-CoV) ไวรัสสายพันธุ์ใหม่นี้ไม่เคยพบมาก่อนในมนุษย์และพบการระบาดครั้งแรกในเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ สาธารณรัฐประชาชนจีน ในช่วงปลายปี 2019
ความเหมือน
องค์การอนามัยโลก ระบุว่า ทั้งไข้หวัดและโควิด-19 ต่างก็เป็นโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจในคนและสามารถแพร่เชื้อจากคนสู่คนได้เหมือนกัน เมื่อติดเชื้อแล้วจะมีสัญญาณและอาการที่บ่งบอกความรุนแรงหลายระดับ ตั้งแต่ไม่มีอาการใดๆ เลย ไปจนถึงอาการหนัก นอกจากนี้ยังมีอาการหลายอย่างคล้ายกัน ได้แก่
ความต่างที่สังเกตได้
แม้ว่าอาการโดยรวมจะคล้ายกันมาก โดยหลักๆ คือ ช่วงแรกจะเป็นไข้ ไอ เจ็บคอ ช่วงกลางจะคัดจมูกและมีน้ำมูกไหล และช่วงท้ายจะมีการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ สำหรับจุดต่างของอาการโควิด-19 ที่พอสังเกตได้ด้วยตัวเอง มีดังนี้
โดยปกติแล้ว ไข้หวัดทั่วไปมักแพร่ระบาดในเด็ก แต่ในส่วนของโควิด พบว่าเด็กอายุ 0-9 ปี ติดโควิดน้อยกว่าช่วงอายุอื่น
นอกจากนี้ สัดส่วนผู้ได้รับเชื้อโควิดแล้วแสดงอาการรุนแรงนั้น สูงกว่าไข้หวัดทั่วไป บางรายมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดอักเสบ อาการหนักมากๆ มักพบในรายที่ตรวจพบเชื้อเมื่อแสดงอาการรุนแรงแล้ว เนื่องจากเข้าสู่ระยะของโรคทางเดินหายใจเฉียบพลัน (ARDS) ทำให้ปอดรับออกซิเจนได้ไม่เพียงพอ ทำให้อวัยวะภายในหลายส่วนล้มเหลวและเสียชีวิตในที่สุด
ทั้งนี้ กลุ่มที่มีความเสี่ยงว่าหากติดโควิดแล้วจะแสดงอาการรุนแรง คือ เด็ก สตรีมีครรภ์ ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน โรคปอดเรื้อรัง และคนที่ภูมิคุ้มกันบกพร้องหรือผิดปกติ หรือกินยากดภูมิต้านทานโรคอยู่ ส่วนผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง พบว่าอาการของโรคไม่รุนแรงถึงร้อยละ 80 ดังนั้น จึงไม่ควรวิตกกังวลมากเกินไป (แต่ระมัดระวังให้ตัวเองปลอดภัยไว้ก่อนเป็นดี)
ระดับไหนถึงเข้าเกณฑ์สอบสวนโรค
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขของไทย สรุป 5 ลักษณะที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรคไว้ดังนี้
ดังนั้น หากเพิ่งเดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยง ควรกักตัวเองอยู่แต่ในบ้าน รักษาระยะห่างจากคนในบ้าน และไม่ออกไปข้างนอกเป็นเวลา 14-27 วัน เพื่อให้ผ่านช่วงเชื้อฟักตัวไปก่อน จะได้แน่ใจจริงๆ ว่าไม่ติดเชื้อ หากไม่มีอาการใดๆ เลย ไม่จำเป็นต้องเข้ารับการตรวจ
ถ้าสงสัยว่าเข้าข่ายติดเชื้อโควิด-19 ควรทำอย่างไร
ถ้ากังวลใจเพราะเข้าเกณฑ์สอบสวนโรคทั้ง 5 ข้อตามที่กรมควบคุมโรคแจ้งไว้ ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจอย่างละเอียด การจะสรุปว่าติดเชื้อและป่วยเป็นโควิด-19 หรือไม่นั้น จำเป็นต้องตรวจยืนยันผลจากห้องปฏิบัติการเท่านั้น ซึ่งสามารถเข้ารับการตรวจได้ที่โรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่มีบริการตรวจยืนยันการติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งมีทั้งแบบฟรีและเสียค่าใช้จ่าย
ที่สำคัญ เมื่อแพทย์ซักถาม ควรตอบตามความเป็นจริง ไม่ปิดบัง ไม่บิดเบือนข้อมูลใดๆ เพราะจะเป็นประโยชน์ต่อการวินิจฉัยและติดตามสอบสวนโรคได้อย่างแม่นยำมากที่สุด ทั้งยังเป็นประโยชน์กับคนอื่นที่เคยเกี่ยวข้องหรือสัมผัสกับเราด้วย
การรักษาโควิด-19 คืบหน้าไปถึงไหน
แม้ว่าอาการโดยทั่วไปจะดูเหมือนเป็นเพียงไข้หวัดธรรมดา แต่ด้วยการที่เชื้อไวรัสโคโรนาเป็นสายพันธุ์ใหม่นี้เป็นเชื้อที่ยังไม่มียาปฏิชีวนะตัวไหนที่สามารถรักษาให้หายได้โดยตรง การรักษาจึงเป็นไปแบบประคับประคองตามอาการเท่านั้น
จากข้อมูลล่าสุดขององค์การอนามัยโลก (ณ เวลาที่เขียน) ปัจจุบันยังไม่มียาหรือวัคซีนสำหรับป้องกันและรักษาโควิด-19 โดยเฉพาะ การรักษายังอยู่ภายใต้การตรวจสอบและจะได้รับการทดสอบในการวิจัยทางคลินิก ปัจจุบัน โรงพยาบาลที่รับผู้ป่วยโควิด-19 จึงใช้ยารักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ ยาฆ่าเชื้อ
ในบางประเทศประสบผลสำเร็จในการใช้ยาต้านไวรัสสูตรเฉพาะ แต่ก็ยังอยู่ในขั้นตอนคิดค้นและพัฒนา เพราะผู้ป่วยแต่ละคนมีการตอบสนองต่อยาและอาการแทรกซ้อนไม่เหมือนกัน
ผู้ป่วยจากการติดเชื้อโควิด-19 ส่วนใหญ่ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล จะมีอาการดีขึ้นและหายในระยะเวลา 19-22 วัน หลังแสดงอาการในวันแรก และแพทย์จะอนุญาตให้ออกจากโรงพยาบาลได้
วิธีป้องกันโควิดที่ได้ผลที่สุด
กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขของไทย ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการอยู่รอดของเชื้อไวรัสโควิด-19 บนพื้นผิวต่างๆ ไว้ว่า เชื้อสามารถอยู่ในละอองฝอยน้ำมูก น้ำเสมหะ และน้ำลายที่กระจายในอากาศได้ 5 นาที อยู่ในน้ำได้นาน 4 วัน อยู่บนโต๊ะหรือลูกบิดประตูได้นาน 7-8 ชั่วโมง อยู่ในผ้าหรือกระดาษทิชชูได้นาน 8-12 ชั่วโมง อยู่บนวัสดุผิวเรียบได้นาน 24-48 ชั่วโมง และอยู่ในอุณภูมิต่ำกว่า 4 องศาเซลเซียสได้นานถึง 1 เดือน
เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตไปสู่ New Normal จึงเป็นเรื่องจำเป็น โดยต้องใส่ใจเรื่องการรักษาระยะห่างจากคนอื่น 2 เมตร เรียนรู้วิธีล้างมือ และใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่ออยู่ในที่สาธารณะ
นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไอ เจ็บคอ จาม น้ำมูกไหล เหนื่อยหอบ หลีกเลี่ยงการเดินทางไปในสถานที่เสี่ยง
ควรระมัดระวังการสัมผัสพื้นผิวหรือใช้สิ่งของที่คนหมู่มากใช้ร่วมกัน เช่น ปุ่มกดลิฟต์ ราวบันได ราวจับบนรถไฟฟ้า มือจับประตูรถ ลูกบิดประตู ก๊อกน้ำ ฯลฯ เพราะอาจมีเชื้อโรคเกาะอยู่ หรือเมื่อจับแล้วก็อย่าเอามือสัมผัสใบหน้า ตา จมูก ปาก และข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัวต่างๆ และควรล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำกับสบู่อย่างน้อย 20 วินาที หรือแอลกอฮอล์เจล 70%
นอกจากนี้ ควรเลือกรับประทานอาหารที่สะอาด สุกใหม่ ใช้ช้อนกลาง หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำจากสัตว์หายาก ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนและหลังรับประทานอาหาร หรือหยิบจับของกิน
แน่นอนว่าคงไม่มีใครอยากให้โรคนี้เกิดขึ้นกับตัวเอง ครอบครัว และคนรอบข้าง ดังนั้น ทางที่ดีต้องหาข้อมูลความรู้เพื่อเตรียมรับมือกับทุกสถานการณ์ ถ้ามีอาการผิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกาย ลองใช้วิธีเช็คอาการโควิด-19 ตามที่เราแนะนำไว้ด้วยตัวเองดูก่อน เมื่อแน่ใจแล้วว่าเข้าข่ายค่อยไปพบแพทย์ จะได้ไม่ต้องเสียเงินเปล่า เรื่องแบบนี้ตื่นตัวไว้เป็นการดี แต่ต้องมีสติ