ใครที่ชอบทำสวนน่าจะรู้ดีกว่าการทำปุ๋ยหมักมีความสำคัญมาก เพราะปุ๋ยหมักช่วยเพิ่มสารอาหารที่เป็นประโยชน์แก่ต้นไม้ทั้งคาร์บอน และไนโตรเจน รวมไปถึงช่วยกักเก็บน้ำ และช่วยให้ต้นไม้เติบโตแข็งแรง นอกจากนี้ปุ๋ยหมักยังเป็นการบำรุงต้นไม้ตามธรรมชาติดีกว่าใช้ปุ๋ยเคมี และยังเป็นการรีไซเคิลขยะเหลือใช้ในบ้านไปพร้อมๆ กัน หากคุณอยากรู้วิธีการทำปุ๋ยหมักเองที่บ้าน ลองอ่านขั้นตอนง่ายๆ ด้านล่างนี้
- Home
- การรักษาสิ่งแวดล้อม
- วิธีทำปุ๋ยหมักเองที่บ้าน
วิธีทำปุ๋ยหมักเองที่บ้าน
การทำปุ๋ยหมักไม่ใช่เรื่องยาก ลองทำตามขั้นตอนที่เรารวบรวมมาให้แล้ว
อัปเดตเมื่อ
แชร์
วัตถุดิบที่ต้องใช้ในการทำปุ๋ยหมัก
การทำปุ๋ยหมักจากใบไม้ เศษอาหาร หรือของเหลือใช้ต่างๆ วัตถุดิบสำคัญในการทำปุ๋ยหมักคือการใช้ของสด (สีเขียว) และของแห้ง (สีน้ำตาล) ในอัตราส่วน 1:3
- ของสดเป็นแหล่งรวมไนโตรเจน โดยของสดได้แก่ ผัก ผลไม้ เศษอาหาร เช่น กาแฟ ถั่ว เปลือกไข่ ใบชา รวมไปถึงขยะเหลือใช้ในสวน เช่น เศษหญ้า เศษใบไม้ เป็นต้น
- ของแห้งเป็นแหล่งรวมคาร์บอน โดยของแห้งได้แก่ ใบไม้แห้ง เศษกระดาษ หรือเศษไม้ เป็นต้น
ในการทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหารและขยะเหลือใช้จากในห้องครัว ของบางอย่างก็ไม่ควรนำมาทำปุ๋ยหมัก เช่น เปลือกผลไม้ที่อาจมีสารเคมีตกค้าง เนื้อสัตว์ กระดูก ก้างปลา วัชพืช หรือต้นไม้ที่มีเชื้อโรคต่างๆ
ขั้นตอนการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
เมื่อมีวัตถุดิบครบถ้วนแล้ว การทำปุ๋ยหมักจากใบไม้ เศษอาหาร หรือของเหลือใช้นั้นง่ายมาก เพราะเชื้อจุลินทรีย์จะช่วยจัดการทุกอย่างให้คุณเอง สำหรับการทำปุ๋ยหมักคุณควรทำบนพื้นดิน เพื่อให้หนอน รวมไปถึงสัตว์อื่นๆ ได้ชอนไชนำออกซิเจนเข้าไปในปุ๋ย และช่วยเร่งปฏิกิริยาการทำปุ๋ยหมักได้รวดเร็วมากขึ้น
- วางเศษไม้หรือฟางไว้ชั้นล่างสุดเพื่อเป็นฐานให้แก่ปุ๋ยหมัก คุณสามารถทำปุ๋ยหมักบนพื้น แล้วล้อมด้วยลวด แผงไม้ บล็อกคอนกรีต หรือจะทำในภาชนะก็ได้เช่นกัน
- วางของสดและของแห้งลงไปในอัตราส่วน 1:3 และพยายามใส่วัตถุดิบลงไปให้มากที่สุด เพราะน้ำหนักของวัตถุดิบจะช่วยกดทับ และช่วยเริ่มกรรมวิธีการทำปุ๋ยหมักได้ในทันที
- รดน้ำลงบนกองปุ๋ยหมักบ่อยๆ เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น อย่าลืมคลุมกองปุ๋ยหมักด้วยไม้หรือพลาสติก เพื่อให้กองปุ๋ยหมักชุ่มชื้นอยู่เสมอ แต่ควรระวังไม่ให้ปุ๋ยหมักเปียกชุ่มจนเกินไป หมั่นคลุกเคล้ากองปุ๋ย 2-3 อาทิตย์ต่อครั้ง เพื่อให้มีออกซิเจนเข้าไปได้อย่างทั่วถึง
ลองทำตามวิธีทำปุ๋ยหมักง่ายๆ ที่เราได้รวบรวมมาให้คุณ แค่นี้คุณก็สามารถมีปุ๋ยธรรมชาติ ไร้สารเคมี รวมไปถึงยังได้รีไซเคิลขยะเหลือใช้ในบ้านไปพร้อมๆ กันอีกด้วย
เผยแพร่ครั้งแรก